อังกฤษ:
Asian
green mussel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Perna viridis จัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสคาเป็นหอยสองฝา
สีของเปลือกเปลี่ยนไปตามสภาพการอยู่อาศัย กล่าวคือ
ถ้าอยู่ใต้น้ำตลอดเวลามีสีเขียวอมดำ ถ้าอยู่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ถูกแดดบ้างเปลือกจะออกเหลือง
เปลือกด้านนอกมีสีเขียว ส่วนท้ายจะกว้างกว่าส่วนหน้า
เนื้อหอยมีสีเหลืองนวลหรือสีส้ม มีหนวดหรือเส้นใยเหนียวสำหรับเกาะหลักเรียกว่า
เกสร หรือ ซัง
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
หอยติบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Crassotrea commer cialis
วงศ์ :OSTRIDAE
ลักษณะ:หอยติบเป็นหอยนางรมพันธุ์เล็ก
เป็นหอยสองฝาฝาทั้งสองมีขนาดไม่เท่ากัน
ฝาทั้งสองเปิดปิดด้วยมัดกล้ามเนื้อมัดเดียว
หอยติบจะใช้ฝาด้านซ้ายเชื่อมติดกับที่เกาะ เปลือกมีบานพับนา ไม่มีฟัน ไม่มีเท้า
ไม่มีเส้นใย เนื้อหอยสีขาวนวล บริเวณทางเดินอาหารเป็นสีดำ เนื้อหวานนุ่ม
กินสิ่งมีชีวิต
เช่นพวกแพลงตอนและพวกอนุภาคของอินทรีย์สารที่สลายมาจากการเน่าเปื่อยผุพังของพืชและสัตว์ที่ล่องลอยอยู่ในน้ำ
หอยแครง
ชื่อสามัญภาษาไทย:หอยแครง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ:COCKLE
ชื่อวิทยาศาสตร์:Anadara
granosa
ลักษณะทั่วไปลักษณะของหอยแครง:เป็นหอยสองฝาลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกหนา ด้านนอกของเปลือกเป็นสันโค้งด้านละ 20
สัน ด้านบนของสันจะสูงแล้วลาดลงไปถึงฝาเปิดปิด โดยปกติเปลือกมีสีน้ำตาลอมดำ
แต่ถ้าหอยอยู่ในบริเวณที่น้ำตื้นและแห้งเสมอฝาด้านบนจะมีสีขาว
ถิ่นอาศัย:แหล่งที่พบหอยแครงพื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนหรือโคลนเหลว
พบมากที่ชลบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ฯ ปัตตานี
อาหาร:หอยแครงกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในทะเล
ขนาด:ความยาวประมาณ 6-7 ซ.ม.
วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
Shell of paradise
Shell of paradise
เกาะยาวน้อย เป็นอีกหนึ่งเกาะที่ขึ้นชื่อในจังหวัดพังงา รู้จักในฐานะแหล่งท่องเที่ยวแนววิถีชีวิตและโฮมสเตย์
เป็นเกาะที่อาจไม่ได้มีชายหาดขาวสวย น้ำทะเลใสเหมือนเกาะอื่นในฝั่งอันดามัน
แต่ถ้าหลงใหลในความเป็นธรรมชาติ ชอบเที่ยวชมวิถีชีวิต และชอบความสงบ
นอกจากเกาะยาวน้อยจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดพังงาแล้ว
เกาะยาวน้อยยังมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรทางทะเล
หอย เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca)
อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ มีจุดเด่น คือ
มีเปลือกที่เป็นแคลเซียมแข็ง ใช้ห่อหุ้มลำตัว โดยปกติแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หรือ 3 จำพวกใหญ่ ๆ คือ หอยเปลือกเดียว (Gastropoda) หอยเปลือกคู่ (Bivalvia)
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษWING
SHELL
ชื่อวิทยาศาสตร์Strombus
canarium
ชื่อไทยอื่นๆ- หอยสังข์ตีนเดียว
ลักษณะทั่วไปลักษณะของหอยชักตีน
มีรูปร่างคล้ายผลสาลี่เปลือกบางเรียบและมีสีขาว เหตุที่เรียกว่า "สังข์"
ก็เพราะมีลักษณะภายนอกคล้ายหอยสังข์ที่ใช้รดน้ำในงานมงคลสมรส
แต่หอยชักตีนหรือสังข์ มีขนาดเล็กกว่า
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบหอยชักตีนตามหาดโคลนปนทราย
พบในอ่าวหลายแห่งด้วยกัน เช่น อ่าวบ้านดอน เกาะสมุย ศรีราชา เกาะเสม็ด แหลมสิงห์
เกาะตลุย และอ่าวบางเป็ด
อาหาร:หอยชักตีนกินสาหร่ายและอินทรีย์สารตามพื้นทะเล
ขนาด:มีความสูงระหว่าง 3.5-5.5
ซ.ม.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)