วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หอยนมสาว

ชื่อ:หอยนมสาว 
ชื่ออังกฤษ:Top shell
ลักษณะ:เปลือกขรุขระและมีสีเทาอมเขียวหรือม่วงอ่อน ด้านในมีชั้นมุกหนา 
อาศัย:ตามแนวปะการัง และบริเวณชายฝั่งที่เป็นหาดหิน 
อาหาร:กินสาหร่ายเป็นอาหาร
เปลือกชั้นที่เป็นมุกนำไปตกแต่งและทำมุกประดับ หรือนำไปทำเครื่องประดับ เช่น กระดุมมุก ของที่ระลึก



วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หอยตาวัว

ชื่อ:หอยตาวัว                                                                                       
ชื่ออังกฤษ:Turban shell มีชื่อเรียกอย่างอื่นว่า หอยอูด หอยมุกไฟ หอยโข่งเขียว  
ลักษณะ:เปลือกค่อนข้างหนามีทั้งชนิดที่เปลือกขรุขระ หรือเรียบเป็นมัน อาจมีสีเขียวหรือมีลายสลับสี ด้านในของเปลือกมีชั้นมุกหนา ช่องเปลือกกลม แผ่นปิดเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต ลักษณะเป็นแผ่นกลม หนา ด้านในแบน ด้านนอกโค้ง หอยตาวัวส่วนใหญ่อาศัยในเขตน้ำตื้นตามแนวปะการัง และบริเวณใกล้เคียง ตามชายฝั่งที่เป็นหาดหิน กินสาหร่ายทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่

หอยขี้กา

ชื่อ:หอยขี้กา (Mud creeper, Telescope shell)                          
ลักษณะ:เปลือกหนาแข็ง สีน้ำตาลเข้ม หรือสีเทาดำ ลักษณะเป็นทรงกรวยคว่ำ
อาศัย:อยู่ทั่วไป ตามแหล่งน้ำกร่อยและน้ำเค็มในเขตน้ำตื้นที่มีพื้นเป็นโคลน พบบริเวณป่าชายเลนและแนวหญ้าทะเล โดยฝังตัวอยู่ใต้ผิวโคลน กินสาหร่าย จุลินทรีย์ ซากพืชซากสัตว์ 

หอยขี้นก

ชื่อ:หอยขี้นก              
ชื่ออังกฤษ:Sand creeper, Ceriths                                                                       ลักษณะ:เปลือกมีสีน้ำตาล น้ำตาลอมดำ หรือเทาอมดำ มีปมขนาดเล็กเรียงชิดกันเป็นแถว ในแนวเวียนก้นหอย หอยขี้นกมักอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก อาศัยอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำกร่อยและน้ำเค็ม ในเขตน้ำตื้น พื้นเป็นทรายปนโคลนหรือโคลน ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำ ป่าชายเลน และแนวหญ้าทะเล ส่วนอาหารคือ สาหร่ายขนาดเล็ก และซากพืชซากสัตว์                                                                                     

หอยจุ๊บแจง

ชื่อ:หอยจุ๊บแจง                                                                           
ชื่ออังกฤษ:Horn shell                                                                                        ลักษณะ:คล้ายหอยขี้นก เปลือกมีสีคล้ำ เช่น สีเทาหรือสีน้ำตาล เปลือกไม่เรียบ มีสันเล็กๆ ทั่วเปลือก อาศัยอยู่ในเขตน้ำตื้นที่พื้นเป็นโคลน โดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลนและป่าจาก พบเกาะตามลำต้น กิ่ง ก้าน และรากต้นโกงกาง รวมทั้งต้นไม้อื่นๆ ในบริเวณดังกล่าว เมื่อหอยจุ๊บแจงยื่นหัวและตีนออกมานอกเปลือก ที่หัวและหลังมีจุดประสีแดงอมส้ม และที่ปลายสุดของตีนจะมีสีแดงอมส้ม อาหารคือ สาหร่ายขนาดเล็ก ซากพืช ซากสัตว์ จุลินทรีย์ และสารอินทรีย์

หอยเสียบ


ชื่อสามัญภาษาไทย:หอยเสียบ                                                  
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ:WEDGE SHELL                                     
ชื่อวิทยาศาสตร์:Donax faba                                                 
ลักษณะทั่วไปลักษณะของหอยเสียบ:เป็นหอยทะเลที่มีเปลือกแข็ง รูปทรงคล้ายสามเหลี่ยมซึ่งมีมุมโค้งมน บนเปลือกมีเส้นแสดงการเจริญตามความยาวของลำตัว ส่วนมากมักมีสีเหลืองอ่อนเป็นพื้นและมีน้ำตาลคาดเป็นเส้นหรือเป็นแถบกระจายอยู่ทั่วไป แต่ละตัวจะมีลวดลายสีสันต่างกันเป็นตามแหล่งที่อยู่อาศัย
ถิ่นอาศัย:แหล่งที่พบหอยเสียบฝังตัวอยู่ในทราย ตามบริเวณที่มีเขตน้ำขึ้นลง พบทั่วไปตามชายหาด    อาหาร:หอยเสียบกินอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย
ขนาด:ความสูงประมาณ 1.5-4 ซ.ม.


หอยนางรม

ชื่อสามัญภาษาไทย:หอยนางรม                                  
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ:PACIFIC OYSTER    
ลักษณะทั่วไป:ลักษณะของหอยนางรม เป็นหอยสองฝา ทั่วไปฝาทั้งสองมีขนาดไม่เท่ากัน ฝาข้างซ้ายมีขนาดใหญ่ ฝาทั้งสองเปิดปิดได้ด้วยมัดกล้ามเนื้อมัดเดียว เปลือกแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นในสุดบางมีสีคล้ายมุกและเรืองแสงชั้นนอกสุดมีลักษณะเป็นแผ่นบางมักจะหลุดลอกออกบ่อย ๆ ชั้นกลางเป็นส่วนประกอบหลักของเปลือกหอยคล้ายชอล์ก เปลือกของหอยนางรมเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม หอยนางรมที่เติบโตบนวัตถุแข็งเปลือกจะมีจำนวนร่องมาก แต่ถ้าเจริญในน้ำที่มีความเค็มสูง เปลือกจะแข็งกว่าหอยที่อยู่ในที่มีความเค็มต่ำ จะสืบพันธุ์วางไข่เมื่ออายุประมาณ 1 ปี จำนวนไข่มีปริมาณแตกต่างกันตามท้องที่และชนิดของหอย ฤดูวางไข่โดยทั่วไปจะวางไข่ตลอดปี แต่จะมากในเดือนที่ก่อนหรือหลังฝน
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบ:หอยนางรมแพร่กระจายในแถบปากแม่น้ำชายฝั่ง จ. สุราษฎร์ฯ ตรัง ชุมพร ประจวบฯ ระยองและจันทบุรี  
อาหาร:หอยนางรมกินสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น แพลงก์ตอน ไดอะตอม และพวกอนุภาคของอินทรีย์สารที่สลายมาจากการเน่าเปื่อยผุพังของพืชและสัตว์ที่ล่องลอยอยู่ในน้ำ      
ขนาด:ประมาณ 9-20 ซ.ม.